วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไก่แจ้ของไทย 3

ไก่แจ้ของไทย 2

ไก่แจ้ของไทย 1

การเลี้ยงไก่แจ้ตอนที่ 1

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

4.การจัดการพ่อแม่พันธุ์


การจัดการพ่อแม่พันธุ์
              การเลี้ยงไก่แจ้นั้นควรเลี้ยงแยกตามสีอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์ลูกไก่ที่มีสีตรงตามพันธุ์ จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่าเสมอ
            พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีอายุ 7- 8 เดือน ส่วนแม่พันธุ์ควรเริ่มที่ อายุ 5 เดือนขึ้นไป พ่อพันธุ์สามารถคุมฝูงแม่พันธุ์ได้ 3-4 ตัว ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ เพื่อช่วยให้เปลือกไข่แข็งแรง เก็บไข่ทุกครั้งที่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่สกปรกวัสดุรองพื้น  นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

3.อาหารของไก่แจ้


อาหารสำหรับไก่แจ้
     ผู้เลี้ยงในปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet Feed) สำหรับไก่ไข่ในการเลี้ยง โดยจะเลือกใช้ตามขนาดของไก่ 3 ระยะคือ
-ระยะไก่เล็ก อายุ แรกเกิด - 6สัปดาห์
-ระยะไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ - 19 สัปดาห์
-ระยะพ่อแม่พันธุ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (มานิตย์, 2536)
      โดยให้กินตลอดเวลาแบบไม่จำกัดปริมาณ อาหารที่ใช้จะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และสะอาดเสมอ ไก่แจ้กินอาหารในปริมาณที่ไม่มาก เพราะไก่แจ้ตัวเล็ก การลงทุนค่าอาหารจึงต่ำมาก ไก่แจ้หนัก 100 กรัม ให้อาหารเพียง 30 กรัม หรือ 3 % ของน้ำหนักตัว

      น้ำจะต้องมีให้ไก่กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าหากไก่ขาดน้ำ จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด และเย็น ภาชนะใส่น้ำไม่ควรอยู่ใกล้ไฟกก หรือตั้งตากแดดเพราะจะทำให้น้ำร้อนไก่จะไม่กิน










2.สีของไก่แจ้


สีของไก่แจ้ที่นิยมเลี้ยง
สีขาว
..ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนี่ยง,ติ่งหู,สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง (สีตาหมายถึง สีรอบตาดำ) จงอยปากสีเหลือง ขนและโคนขนทั้งตัวต้องมีสีขาวบริสุทธิ์ เหมือนปุยหิมะ ไม่มีสีอื่นปะปน น้ำขนแวววาว แข้ง, นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว


สีดำ
ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนี่ยง,ติ่งหู, สีแดงจัด หรือมีปานดำ ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีดำหรือ สีสนิมเหล็ก มีขอบตา จงอยปากสีดำ ขนทั้งตัวสีดำสนิท ต้องไม่มีสีอื่นแซม น้ำขนเป็นมัน เหลือบเขียวคล้าย ปีกแมลงทับ แข้ง, นิ้ว, เล็บ เป็นสีดำหรือสีหินชนวน



สีลายดอกหมาก
ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนียง,ติ่งหู,สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่ สีแดงสด ตาสีแดง หรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ลำตัวสีดำ ขนตัว ส่วนใหญ่สีดำ สีขนหัว สร้อยคอและ ขนระย้าสีดำ ขลิบด้วยสีขาวปนสีเงินสว่างชัดเจน ขนอกสีดำ ขอบเงิน เป็น ลายข้าวหลามตัดคมชัด หางสีดำปีกสีดำ แข้ง, นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว
สีขาวหางดำ
ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนียง,ติ่งหู,สีแดงสดใบหงอน มีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่ สีแดงสด ตาสีแดงหรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ขนสีขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว ขนปีกชั้นแรก และชั้นที่สองแซมดำ แต่เมื่อหุบปีกแล้ว จะดู เป็นสีขาวเกือบทั้งปีก หางพัดมีสีดำ ขนข้างหางพัด แต่ละเส้นสีดำแต่ขลิบขอบ ด้วยสีขาวคมชัด แข้ง,นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว
สีทอง

สีทอง (Black Tailed Buff) ตัวผู้ หน้า, หงอน, เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีเหลืองหรือส้ม จงอยปากสีเหลือง ขนสีทองสดใสสม่ำเสมอทั้งตัว ขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำ แต่เมื่อหุบปีกแล้วจะดูเป็นสีทองเกือบทั้งปีก ขนหาง(หางพัด สีดำขอบทอง หางชัย และหางข้างสีดำขอบทอง แข้ง, นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว

สีเทาเปรอะ
 ตัวผู้ หน้า, หงอน, เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม มีขอบตา จงอยปากสีเทาหรือเทาดำ ขนทั้งตัวตั้งแต่สร้อยคอ จนถึงหางจะมีสีเทานกพิราบ เทาเข้ม เทาอ่อน ขึ้นสลับปะปนกันอยู่ทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปน ขนตามลำตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหาง จะต้องไม่มีสีเหลืองหรือสีทองขึ้นแซม แข้งนิ้วเล็บ สีเทาคล้ายหินชนวน หรือเขียวอมดำ หรือสีเหลือง

สีลายบาร์ (Cuckoo) 
ตัวผู้หน้า, หงอน, เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรืออมดำ สีขนเป็นสีลายระหว่างสีเทาเงินกับสีเทาเข้มทั้งตัว และไม่มีสีอื่นปะปน แข้ง, นิ้ว เป็นสีเหลือง เล็บสีขาว



1.ประวัติของไก่แจ้

       ประวัติของไก่แจ้
     

     ไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง สืบทอดสายพันธ์มาจากไก่ป่าเช่นเดียวกับไก่ประเภทอื่นๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเมืองไทยก็พบไก่แจ้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ถือว่าเป็นไก่พื้นเมืองของประเทศไทยสายพันธุ์หนึ่ง ในแถบยุโรปและอเมริกาจะเรียกไก่แจ้ว่า "แจแปนนีสแบนตั้ม" (Japannese Bantams)เพื่อเป็นการให้เกียรติกับชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้ขึ้นมาทั้งๆที่ไก่แจ้แท้จริงแล้วไม่ใช่ไก่พื้นเมืองของญี่ปุ่น มีหลักฐานกล่าวว่าแรกเริ่มชาวญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้มาจากจีนตอนใต้เมื่อพ.ศ.2149 - 2179 จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้รูปทรงและสีสันที่สวยงาม ในเวลาต่อมาญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้ จากแถบคาบสมุทรอินโดจีนไปผสมเพิ่มเติมอีก ซึ่งใช้เวลาในการคัดพันธุ์นับร้อยปี จนกระทั่งประมาณห้าสิบปีเศษมานี้เองไก่แจ้ญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในแถบยุโรปที่มีการนิยมเลี้ยงไก่แจ้ก็เพราะว่า เมื่อสมัยโบราณชนชาติจีนมีการติดต่อซื้อขายกับชาวอังกฤษ ซึ่งชาวจีนได้นำไก่แจ้ติดเรือสำเภาไปด้วย เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาในเรือ เมื่อพ่อค้าชาวอังกฤษเห็นเข้า ก็เกิดความสนใจและได้นำไปเลี้ยงยังประเทศอังกฤษ ในตอนแรกก็มีการเลี้ยงกันเฉพาะพ่อค้าและชาวบ้าน ต่อมาพระนางวิคตอเรียเห็นเข้าและพอพระทัยจึงมีการนำเข้าไปเลี้ยงในพระราชวังเป็นครั้งแรก สำหรับในเมืองไทยมีการเลี้ยงไก่แจ้มาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว แต่ไม่ได้สนใจในการปรับปรุง หรือคัดสายพันธุ์เลย จนกระทั่งเมื่อประมาณ20-30ปีที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง ในการพัฒนาเพื่อให้ไก่แจ้ไทยมีลักษณะดีและสวยงามตามแบบมาตรฐานสากล จึงได้มีการสั่งซื้อไก่แจ้ สายพันธุ์ที่ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาผสมกับสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย จากการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันไก่แจ้ไทยกลายเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศมากขึ้น